นิทาน หมายถึง
เรื่องเล่าสืบต่อกันมาเป็นทอด ๆ อาจเป็นเรื่องที่อิงความจริง หรือ แต่งขึ้นมาก็ได้ จุดประสงค์ของการเล่านิทาน
เพื่อให้เกิดความบันเทิง ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ลดความเครียดและให้ข้อคิด
คติสอนใจ
ความสำคัญของนิทาน
๑. คุณค่าในการให้ความบันเทิง
สนุกสนาน ผ่อนคลายความเครียด
๒. คุณค่าในการปลูกฝังความประพฤติและค่านิยมในสังคม
และระเบียบ
แบบแผนของสังคม
๓. คุณค่าในการสะท้อนโลกทัศน์และภาพของสังคม
แสดงชีวิตความเป็นอยู่
ของสังคม
องค์ประกอบของนิทาน
๑. แนวคิด หรือแก่นของเรื่อง
หรือสารัตถะของเรื่อง แนวคิดของเรื่องนิทานมักเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน
ง่ายไม่ลึกซึ้งนัก เช่น แนวคิดเรื่องแม่เลี้ยงข่มเหงลูกเลี้ยง
การทำความดีจะได้ผลดีตอบสนอง
๒.
โครงเรื่องของนิทาน มักสั้น กะทัดรัด เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน เป็นลักษณะเรื่องเล่าธรรมดาโดยดำเนินเรื่องไปตามลำดับเหตุการณ์ก่อนหลัง
๓.
ตัวละคร ไม่ควรมีหลายตัว เพราะเป็นเรื่องสั้น ๆ จะน่าอ่านกว่าเรื่องยาว ๆ
ตัวละครอาจเป็นคน
สัตว์ เทพเจ้า นางฟ้า
มนุษย์ อมนุษย์ ฯลฯ
๔.
ฉาก เป็นภาพจินตนาการที่ผู้เขียนสร้างขึ้น ให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง
๕.ถ้อยคำหรือบทสนทนาที่ตัวละครในเรื่องพูดกัน
ควรใช้ภาษาที่กะทัดรัด เข้าใจง่าย สนุกสนานชวนติดตาม
๖. คติชีวิต นิทานที่ดีต้องมีข้อคิดเกี่ยวกับชีวิต
สังคม และวัฒนธรรม เพื่อเป็นการปลูกฝังคุณธรรมแก่ผู้อ่าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้เยาว์ ดังนั้น ในตอนท้ายของนิทานมักสรุปคติชีวิตให้เป็นเครื่องเตือนใจผู้อ่านด้วย นิทานเป็นบทประพันธ์ประเภทหนึ่งซึ่งเป็นเรื่องสมมติ มีการดำเนินเรื่องรวดเร็ว มีการบรรยายพฤติกรรมของตัวละครให้มี
ความเคลื่อนไหวอยู่ตลอด มีตัวละครดำเนินเรื่อง ซึ่งอาจเป็นมนุษย์หรือสัตว์ก็ได้
มีเหตุการณ์หรือการดำเนินเรื่อง ที่แสดงความขัดแย้งของตัวละคร
และมีการคลี่คลายความขัดแย้งของตัวละครในที่สุด
การอ่านเพื่อความเข้าใจ
“นิทาน” นั้นผู้อ่านต้องอ่านเรื่องราวทั้งหมด จากนั้นจึงจับใจความสำคัญของนิทานที่อ่าน ลำดับเหตุการณ์ของนิทานเกี่ยวกับฉากตัวละครการดำเนินเรื่อง การจบของเรื่อง ข้อคิดคติเตือนใจที่ได้รับ ฯลฯ อาจใช้วิธีการสรุปสั้นๆว่า เรื่องอะไร ใคร
ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร
ผลเป็นอย่างไร ก็ได้
นอกจากนี้ผู้อ่านควรพิจารณาถึงจุดประสงค์
น้ำเสียงของผู้เขียนที่ปรากฏในนิทานนั้นเป็นอย่างไร
ตลอดจนการนำข้อคิดที่ได้รับจากนิทานไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนและส่วนรวมได้อย่างเหมาะสม
ประเภทของนิทาน
๑. ประเภทเทพนิยายหรือปรัมปรา (Fairy tale) เป็นเรื่องเกี่ยวกับเทวดา
นางฟ้า เรื่องมหัศจรรย์เหนือธรรมชาติ เป็นความฝันและจินตนาการของผู้แต่ง
เรียกหลายอย่างเช่น นิทานมหัศจรรย์ นิทาน บรรพบุรุษ
เรื่องราวมักเกี่ยวข้องกับราชสำนัก เจ้าหญิง เจ้าชาย มีแม่มด มียักษ์ สัตว์ประหลาด
ตัวละครที่ดีจะเป็นฝ่ายชนะ เช่น เรื่องพระอภัยมณี คาวี สังข์ทอง พระสุธนมโนห์รา ฯลฯ
๒. ประเภทชีวิตจริง (Novella) เป็นเรื่องที่ดำเนินอยู่ในโลกของความจริง
มีการบ่งสถานที่และตัวละครชัดเจน
อาจมีปาฏิหาริย์อิทธิฤทธิ์แต่เป็นไปในลักษณะที่เป็นไปได้ โดยใช้สถานที่ เวลา
ตัวละครที่มา จากความจริง เช่น ขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี (บางส่วนที่มาจากชีวิตจริงของผู้แต่ง)
พระลอ พระรถเมรี พระร่วง ไกรทอง เป็นต้น
๓. ประเภทวีรบุรุษ (Hero tale) เป็นเรื่องที่มีหลายตอนขนาดยาว
อาจคล้ายชีวิตจริงหรือจินตนาการ
เป็นเรื่องเล่าที่กล่าวถึงวีรบุรุษที่ต้องผจญภัยที่มีลักษณะเหนือมนุษย์ เช่น
เรื่อง เฮอร์คิวลิส เซซีอุ สและเพอร์ซีอุสของกรีก เป็นต้น
๔. ประเภทนิทานประจำถิ่น (Sage) มักเป็นเรื่องแปลกพิสดารซึ่งเชื่อว่า
เคยเกิดขึ้นจริง ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่ง บ่งบอกสถานที่และตัวละครชัดเจน
อาจมาจากประวัติศาสตร์ อาจเป็นไปได้ทั้งมนุษย์ สัตว์ เทวดา ผี เช่น เรื่อง
พระยาพาน พระร่วง เจ้าแม่สร้อยดอกหมาก ตาม่องล่าย ท้าวปาจิตกับนางอรพิม เป็นต้น๕. ประเภทเล่าอธิบายเหตุ (Explanatory tale) เป็นเรื่องอธิบายกำเนิด ความเป็นมาของสิ่งที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ กำเนิดของสัตว์ว่าเหตุใดจึงมีรูปร่างลักษณะ ต่าง ๆ กำเนิดของพืช มนุษย์ ดวงดาวต่าง ๆ เป็น ต้น เช่น ทำไมจระเข้จึงไม่มีลิ้น กำเนิด ดาวลูกไก่ กำเนิดจันทรคราส เป็นต้น
๖. ประเภทเทพปกรณัมหรือเทวปกรณ์ (Myth) เป็นเรื่องอธิบายถึงกำเนิดของจักรวาล
มนุษย์ สัตว์ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ลม ฝน กลางวัน กลางคืน ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า
แสดงถึงความเชื่อทางศาสนา มี เรื่องของเทพที่เรารู้จักกันดี เช่น เมขลา รามสูร
เป็นต้น
๗. ประเภทสัตว์ (Animal
tale) เป็นเรื่องที่มีสัตว์เป็นตัวเอก
โดยจะแสดงให้เห็นความฉลาดและความโง่เขลาของสัตว์
โดยเจตนาจะมุ่งสอนจริยธรรมหรือคติธรรม ซึ่งจัดเป็นเรื่องประเภทให้คติสอนใจ เช่น
นิทานอีสป และปัญจะตันตระ
๘. ประเภทมุขตลก (Merry tale) เป็นเรื่องขนาดสั้นอาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับมนุษย์
หรือสัตว์ จุดสำคัญของเรื่องอยู่ที่ความไม่น่าเป็นไปได้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความโง่
ความฉลาด การใช้กลลวง
การแข่งขัน การ ปลอมแปลง ความเกียจคร้าน เรื่องเพศ การโม้ คนหูหนวก นักบวช
พระกับชี ลูกเขยกับแม่ยาย ศรีธนญชัย กระต่ายกับเต่า เป็นต้น
๙. ประเภทศาสนา (Religious tale) เป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา เช่น เรื่องเล่าเกี่ยวกับพระเยซู นักบุญ
พระพุทธเจ้า พระสาวก ซึ่งไม่มีในพระไตรปิฎกอยู่หลายเรื่อง
ซึ่งทรรศนะของผู้เล่ามักถือว่าเป็นเรื่องจริง
๑๐. ประเภทเรื่องผี เป็นเรื่องเกี่ยวกับผีต่าง
ๆ ซึ่งไม่ปรากฏชัดว่ามาจากไหน เกิดอย่างไร เช่น
ผีบ้าบ้องและผีปกกะโหล้งของไทยภาคเหนือ
หรือผีที่เป็นคนตายแล้วมาหลอกด้วยรูปร่างวิธีการต่าง ๆ มีผีกอง กอย ฯลฯ
๑๑. ประเภทเข้าแบบ (Formular tale) เป็นเรื่องที่มีโครงเรื่องสำคัญเล่าเพื่อความสนุกสนานของผู้เล่า
และผู้ฟังอาจมีการเล่นเกม แบ่งเป็นนิทานลูกโซ่
เช่นเรื่องตากับยายปลูกถั่วปลูกงาให้หลานเฝ้า นิทาน หลอกผู้ฟัง นิทานไม่รู้จบ
เช่นเกี่ยวการนับจะเล่าเรื่อยไปแต่เปลี่ยนตัวเลข
วิธีการอ่านจับใจความสำคัญจากนิทาน
การอ่านจับใจความสำคัญประเภทนิทาน เป็นการอ่านเพื่อหาสาระของเรื่องว่า เรื่องราวที่อ่านนั้นมีสาระสำคัญ มีเนื้อความอย่างไรและนิทานเรื่องนั้นๆ มีข้อคิด
คติธรรมหรือคำสอนอันเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านในประเด็นใดบ้างและจะนำข้อคิดไปใช้ได้หรือไม่เพียงใด
การอ่านนิทานอาจใช้หลักการอ่านจับใจความสำคัญเหมือนการอ่านเรื่องยาว
ๆ ทั่วไป คือ เน้นการสรุปสาระสำคัญของเรื่องในลักษณะการย่อความ
ซึ่งมีขั้นตอนการอ่าน ดังนี้
๑. ตั้งใจอ่าน มีสมาธิในการอ่าน
๒. อ่านเรื่องราวนั้น ๆ
แต่ต้นจนจบเรื่อง
๓.
สรุปหรือจับใจความสำคัญว่าเป็นเรื่องอะไร มีใคร ทำอะไร กับใคร
ที่ไหน
เมื่อไร ทำอย่างไร
๔. ทบทวนความบางตอน
หรือสาระบางเรื่องที่ยังเข้าใจไม่ชัดเจนให้เข้าใจ
๕.
สังเกตดูว่าผลสุดท้ายของเรื่องนั้น ๆ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
๖.
พิจารณาว่าเรื่องมีสาระหรือความสำคัญอยู่ที่ใด มีแง่คิด คติธรรม
หรือคำสอนแก่ผู้อ่านอย่างไรบ้าง
๗. สรุปความคิด ทำบันทึกช่วยจำ
ย่อความ ตอบคำถาม หรือทำกิจกรรม
ต่าง
ๆ ตามวัตถุประสงค์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น